วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สาเหตุบบ่งชชี้และสัญญาณที่จะมีการเปลี่ยนองค์กรมีอะไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างให้ชัดเจน

               ต้องปรับตัวเปลี่ยนด้วยเพื่อให้องค์กรอยู่รอดได้

1.        ผู้นำเปลี่ยน  จะมีแนวคิดและรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปจากเดิม  หลายสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับองค์กร

2.         เทคโนโลยีและนวัตกรรมเปลี่ยน  สิ่งที่เคยทำมานานจะสร้างความเคยชินให้คนในองค์กรแต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นอาจเป็นสิ่งล้าสมัยไม่อาจเป็นเครื่องมือสร้างความเข็มแข็งที่จะต่อสู้ได้ เมื่อสภาพการแข่งขันหรือองค์กรมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่  คนในองค์กรต้องปรับตัวต้องเรียนรู้ในสิ่งนั้นให้เข้าใจ  และศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเรา


3.           ขนาดองค์กรเปลี่ยน  ไม่ว่าจะเป็นการลดรวมกิจการทำให้ขนาดองค์กรใหญ่ขึ้น  บุคลากรภายในองค์กรต้องปรับตัว  อาจมีการโยกย้ายตำแหน่งต่าง    คนที่ไม่เหมาะสมอาจถูกปลดหรือต้องไปทำงานต่างถิ่นต่างหน่ายงาน  หากบุคลากรขาดศักยภาพ  จะไม่เป็นที่ต้องการขององค์กรต่อไป

4.           สินค้าและบริการเปลี่ยน  เมื่อสิ่งที่องค์กรสร้างขึ้นมาใหม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้สิ่งเหล่านั้นย่อมสูญหายไปจากตลาด  สิ่งใหม่จะเข้ามาแทนที่  องค์กรต้องมีการพัฒนาสินค้า

ส่งโดย  นางสาว  เสาวภา  ประเมินชัย  บ.กจ  3/2

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

แนวคิดกลยุทธ์ทางการแข่งขัน
เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และความสามารถที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์แก่บริษัทท่ามกลางแรงกดดันทางการแข่งขันที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ทุกวันในตลาดการค้าโลก เป็นระบบที่ช่วยเหลือหรือกำหนดตำแหน่งการแข่งขันในตลาดและกำหนดกลยุทธ์ของกิจการ การสร้างกลยุทธ์การแข่งขันพื้นฐาน 5 อย่าง
1.    กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านราคา
2.    กลยุทธ์ความแตกต่าง
3.    กลยุทธ์นวัตกรรม
4.    กลยุทธ์ความเจริญเติบโต
5.    กลยุทธ์สร้างพันธมิตร
บทบาททางกลยุทธ์สำหรับระบบสารสนเทศ
-         การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ
บทบาทที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่สำคัญในขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยให้ขั้นตอนในการปฏิบัติงานภายในมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถทำให้บริษัทลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการแก่ลูกค้าและสามารถพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์สำหรับการเปิดตลาดใหม่อีกด้วย
-         การส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ สามารถให้ผลดีในการพัฒนาสินค้าและบริการหรือขั้นตอนการทำงานที่มีเอกภาพ
-         การควบคุมลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า ทำให้ธุรกิจสามารถควบคุมสินค้าและผู้จัดหาสินค้า ให้มาทำธุรกิจด้วยกัน
-         การสร้างกลไกต้นทุนการเปลี่ยนแปลง การหาหนทางสร้างกลไกต้นทุนการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า
-         การเพิ่มอุปสรรคของการเข้าสู่วงการ โดยการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงการทำงานหรือส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ทำให้บริษัทอื่นเกิดความท้อถอยหรือเกิดความล่าช้าที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่งในวงการ
-         การยกระดับฐานงานเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ ทำให้บริษัทมีโอกาสได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ของการปฏิบัติงาน
-         การพัฒนาฐานข้อมูลทางด้านกลยุทธ์ เป็นข้อมูลที่จะช่วยสนับสนุนกลยุทธ์การแข่งของบริษัท จะเสริมการทำงานและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของบริษัท
การทำลายอุปสรรคทางธุรกิจ
-         การทำลายอุปสรรคทางด้านเวลา การทำให้ระยะเวลาการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าสั้นลงและลดการลงทุนด้านการเก็บกักสินค้าให้เหลือน้อยที่สุด
-         การทำลายอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์ การทำธุรกิจในตลาดทางด้านท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับโลก ทำลายระยะทางที่กีดขวางการควบคุมการบริหารงาน
-         การทำลายอุปสรรคทางด้านต้นทุน ประหยัดค่าแรงงาน ลดขนาดของคลังสินค้า ลดจำนวนศูนย์
ขนส่งสินค้า และลดต้นทุนการตัดต่อสื่อสาร
-         การทำลายอุปสรรคทางด้านโครงสร้าง อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และเครือข่ายการสื่อสารระยะไกลอื่นๆ สามารถส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงในบริการการส่งสินค้า เพิ่มขอบข่ายและแทรกซึมเข้าสู่ตลาด
การประยุกต์ใช้เชิงกลยุทธ์และประเด็นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
การที่องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี บริษัทอาจใช้ระบบสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์ ในเชิงป้องกันหรือในเชิงควบคุม เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน
กระบวนการทางธุรกิจในการจัดระบบใหม่
เป็นการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจซึ่งเป็นเรื่องที่มากกว่าการทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นไปอย่างอัตโนมัติเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาด้านประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจ เหมือนกับการคิดทบทวนใหม่ตั้งแต่เริ่มแรกและออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ทั้งหมด
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีบทบาทสำคัญในการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ ความรวดเร็วความสามารถในการประมวลผลข้อมูลและการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนทางธุรกิจได้เป็นอย่างมาก
การปรับปรุงคุณภาพของธุรกิจ
วิธีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน รวมทั้งการปรับรื้อระบบ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเทคนิคการปรับโครงสร้างต่างๆ บางบริษัทได้รวมวิธีการต่างๆเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งวิธี
การบริหารคุณภาพโดยรวม
เป็นมากกว่าวิธีการเชิงกลยุทธ์สำหรับการปรับปรุงธุรกิจ คุณภาพจะเป็นสิ่งที่ถูกเน้นหนักจากมุมมองของลูกค้ามากกว่าตัวผู้ผลิตเอง ดังนั้น คุณภาพจำเป็นต้องตรงตามความต้องการหรือมากกว่าความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าผู้บริโภคสินค้าและบริการนั้นๆ
ก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งที่ฉับไว
ความว่องไวคล่องตัวหรือฉับไวในสภาวการณ์ที่มีการแข่งขันกันสูงนั้น เป็นความสามารถทางธุรกิจที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยดี สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดด้วยสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงมีผลผลิตที่ดีและเหมาะกับที่ลูกค้าต้องการ
การสร้างบริษัทเสมือน
สามารถทำให้ผู้บริหาร วิศวกร นักวิจัย และพนักงานในสาขาอื่นๆ จากทั่วโลกประสานงานร่วมมือกัน เพื่อผลิตคิดค้นสินค้าและบริการใหม่ๆ โดยไม่ต้องมาพบปะพูดคุยกันตัวต่อตัว
กลยุทธ์ของบริษัทเสมือน
-         ใช้โครงสร้างพื้นฐานและความเสี่ยงร่วมกัน
-         เชื่อมโยงความสามารถหลักเข้าด้วยกัน
-         ลดเวลา ด้วยการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
-         เพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและการครอบคลุมทางตลาด
-         เข้าถึงตลาดใหม่ และแบ่งตลาดหรือลูกค้าให้กัน
-         เปลี่ยนจากการขายสินค้ามาเป็นขายวิธีการแก้ปัญหา
การสร้างบริษัทที่สร้างสรรค์ความรู้
คือ บริษัทที่สร้างความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอและแพร่กระจายความรู้นั้นออกไปให้ทั่วในองค์กรรวมทั้งรีบปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้ได้
ระบบการบริหารความรู้
การบริหารความรู้ จึงได้กลายมาเป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์เชิงกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ เพื่อให้เรียนรู้การบริหารองค์กรและเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจ เป้าหมายคือ ช่วยให้พนักงานที่มีความรู้ได้สร้างจัดระบบและกระจายความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับธุรกิจ
การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีกลยุทธ์
-         การปรับปรุงด้านต้นทุนและประสิทธิภาพ
-         การปรับปรุงผลการทำงานในด้านความมีประสิทธิผลทางธุรกิจ
-         การเข้าสู่ตลาดในระดับโลก
-         การเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการ
ลูกโซ่การเพิ่มมูลค่าของอินเทอร์เน็ต
สามารถช่วยให้บริษัทประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์ได้และยังสามารถถูกใช้สำหรับจัดวางตำแหน่งของระบบงานที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐานของบริษัทได้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วย
ความท้าทายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ผู้จัดการมองระบบสารสนเทศในแนวใหม่ ระบบสารสนเทศมิใช่เป็นเพียงความจำเป็นทางด้านการปฏิบัติงาน และยังเป็นผู้ช่วยที่มีประโยชน์ในการจัดหาข้อมูลและเครื่องมือในการตัดสินใจของระดับบริหารอีกด้วย
ความสำเร็จในเชิงกลยุทธ์ที่ยั่งยืน
1.    สภาพแวดล้อม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม คือโครงสร้างของอุตสาหกรรม
2.    ปัจจัยพื้นฐาน ตำแหน่งเฉพาะในวงการอุตสาหกรรม โครงสร้างองค์กร พันธมิตร สินทรัพย์ ทรัพยากรทางเทคโนโลยีและทรัพยากรความรู้
3.    การทำการบริหารและกลยุทธ์ การพัฒนาและริเริ่มให้เกิดการกระทำและกลยุทธ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ

สรุปบทที่ 7 ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจด้านการบริหาร

สารสนเทศ การตัดสินใจและการจัดการ
ระดับของการจัดการตัดสินใจนั้นต้องได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความสำเร็จภายในองค์กร ได้แก่
-         การจัดการด้านกลยุทธ์ คณะกรรมการอำนวยการ สมาชิกผู้บริหารและผู้บริหารระดับสูง กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ นโยบายและการวางแผนภายในองค์กร
-         การจัดการด้านยุทธวิธี ผู้จัดการหน่วยงาน วางแผนระยะสั้นและระยะกลาง กำหนดตารางเวลา งบประมาณและนโยบายขั้นตอนการทำงานและเป้าหมายทางธุรกิจสำหรับหน่วยย่อยภายในองค์กร
-         การจัดการด้านการปฏิบัติการ สมาชิกภายในกลุ่มหรือการปฏิบัติการของผู้จัดการ ในการจัดการวางแผนระยะสั้น
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
เป็นประเภทพื้นฐานของระบบที่สนับสนุนการจัดการและยังเป็นประเภทหลักของระบบสารสนเทศอีกด้วย เป็นตัวสร้างข้อมูลที่สนับสนุนความต้องการในการตัดสินใจสำหรับงานการจัดการวันต่อวัน การสร้างรายงาน
ทางเลือกสำหรับการจัดการรายงาน
-         รายงานตามตารางเวลาปกติ การจัดการรายงานในรูปแบบของการกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมการจัดการกับข้อมูลในพื้นฐานที่เหมือนกัน
-         รายงานการยกเว้น เป็นการสร้างรายงานเมื่อมีเงื่อนไขการยกเว้นนั้นๆ เกิดขึ้น หรือเป็นรายงานตามกำหนดเวลาแต่มีจ้อมูลเฉพาะสำหรับเงื่อนไขที่ต้องการยกเว้น
-         รายงานความต้องการและการตอบสนอง  สารสนเทศเป็นสิ่งที่สามารถใช้ได้ตลอกเวลาที่ต้องการ
-         รายงานสนับสนุน สารสนเทศจะถูกส่งหรือผลักไปยังเครื่องของผู้จัดการโดยตรง ซึ่งหลายบริษัทใช้ซอฟต์แวร์การกระจายทางเว็บ
กระประมวลผลการวิเคราะห์ต่อตรงหรือออนไลน์
-         การรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เกี่ยวข้องกับการรวบรวมของข้อมูล เกี่ยวข้องกับการจับกลุ่มที่ซับซ้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับความสำพันธ์ภายในข้อมูล
-         การเจาะลึก OLAP สามารถเข้าไปในทิศทางตรงกันข้ามและแสดงรายละเอียดข้อมูลโดยอัตโนมัติ ที่เรียกว่า เจาะลึก
-         การแบ่งส่วนและการสุ่ม อ้างอิงถึงความสามรถในการตรวจดูฐานข้อมูลจากจุดตรวจสอบที่แต่งต่างกันในการแบ่งส่วนออกหนึ่งส่วนของฐานข้อมูลในการขายอาจจะแสดงรายการของการขายของสินค้าประเภทที่อยู่ในขอบเขตทั้งหมด
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
มีขั้นตอน คือ 1. รูปแบบจำลองในการวิเคราะห์ 2.ฐานข้อมูลเฉพาะ 3. ผู้ที่ตัดสินใจหรือผู้ตัดสินใจ 4.การติดต่อระหว่างกัน
รูปแบบจำลองและซอฟแวร์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
เป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวช่วยของรูปแบบจำลองที่ใช้ในการคำนวณและการวิเคราะห์ประจำวันซึ่งโปรแกรมอาจจะมีรูปแบบจำลองที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนของตัวแปร
การใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
-         การวิเคราะห์แบบวอทอิฟ ผู้ใช้สามารถจะเปลี่ยนแปลงตัวแปรหรือจำนวนความสัมพันธ์ของตัวแปรและความชัดเจนของผลลัพธ์ที่ได้จากค่าของตัวแปรอื่นๆ
-         การวิเคราะห์แบบละเอียด เป็นกรณีพิเศษของการวิเคราะห์แบบวอทอิฟ ค่าของตัวแปรเพียงหนึ่งตัวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ในตัวแปรอื่นๆ
-         การวิเคราะห์แบบค้นหาเป้าหมาย เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการวิเคราะห์แบบวอทอิฟและแบบละเอียดจะเป็นการแทนที่ของสิ่งที่เห็นได้ชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรที่มีผลกับตัวแปรอื่น
-         การวิเคราะห์แบบเหมาะสม เป็นการขยายความซับซ้อนที่มากขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ค้นหาเป้าหมายโดยแทนที่ค่าของเป้าหมายเฉพาะสำหรับตัวแปร เพื่อค้าหาค่าที่เหมาะสมสำหรับตัวแปรหนึ่งตัวหรือมากกว่านั้น หลังจากนั้นตัวแปรอื่นจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
เป็นระบบสารสนเทศที่มีการรวบรวบเอาลักษณะการทำงานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลายๆ ตัวร่วมกับระบบการสนับสนุนในการตัดสินใจ
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในธุรกิจ
ภาพรวมของปัญญาประดิษฐ์
เป็นการสร้างเส้นทางการการกลับไปยังเส้นทางการทำงานของบริษัทที่ใช้เทคโนโลยี ช่วงเวลาที่สำคัญของระบบธุรกิจ ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมทุกประเภท ทั้งด้านอิเล็กทรอนิกส์ ระบบขนส่ง อุตสาหกรรมการผลิต
ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์
1.    ศาสตร์แห่งการรับรู้ ในส่วนของปัญญาประดิษฐ์จะตั้งอยู่ในการวิจัยทางด้านชีววิทยา ประสาทวิทยา จิตวิทยา คณิตศาสตร์และการฝึกฝนในหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้องกัน
2.  หุ่นยนต์ วิศวกรรม และชีววิทยา เป็นพื้นฐานการทดสอบสำหรับการออกแบบหุ่นยนต์ เทคโนโลยีได้มีการผลิตเครื่องจักรหุ่นยนต์ร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ชาญฉลาดให้มีความสามารถทางร่างกายที่เหมือนกับมนุษย์
3.  ลักษณะการทำงานที่เป็นธรรมชาติ การพัฒนาลักษณะการทำงานที่เป็นธรรมชาติเป็นการพิจารณาจากหลักของการปฏิบัติการทำปัญญาประดิษฐ์และเป็นส่วนที่สำคัญในการใช้ธรรมชาติของมนุษย์
เครือข่ายเส้นประสาท
เป็นแบบจำลองระบบการประมวลผลที่เหมือนเครือข่ายเส้นใยประสาทของสมองมนุษย์ที่เชื่อมโยงกัน เรียก เส้นประสาท ที่ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมพื้นฐานจำนวนมากด้วยลักษณะที่คล้ายคลึงกับสมอง ที่มีกระบวนการเชื่อมต่อในลักษณะคู่ขนานและการเคลื่อนที่สื่อสารระหว่างกันทำให้เกิดเครือข่ายความสามารถ เรียก เรียนรู้
ระบบตรรกะที่ไม่ชัดเจน
เป็นการแทนสิ่งที่เล็ก แต่มีประสิทธิภาพและมีการเติบโตในระบบงานของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในหน่วยงานทางธุรกิจเป็นวิธีการของการให้เหตุผลที่คล้ายๆกับมนุษย์ โดยพิจารณาสิ่งที่ไม่สมบูรณ์หรือข้อมูลที่ไม่ชัดเจน
เจนนิทิคอัลกอลิธึม
เป็นประโยชน์เฉพาะเพื่อใช้สำหรับการแก้ปัญหานับพันๆที่มามารถเกิดขึ้นได้และต้องมีการประเมินค่าในการจัดการในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ซอฟต์แวร์นี้จะใช้บทบาทของชุดขั้นตอนการทำงานทางคณิตศาสตร์
ความจริงเสมือน
เป็นการจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ที่พยายามที่จะสร้างให้เป็นธรรมชาติ ดูเสมือนจริงมีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ ที่อาศัยอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและส่งข้อมูลที่มีความหลากหลายทางความรู้สึก
การประยุกต์ใช้ความจริงเสมือน
มีขอบเขตที่กว้างขวางและอาศัยการช่วยเหลือเบื้องต้นในการออกแบบของคอมพิวเตอร์ เป็นการปรากฏทางไกล เมื่อผู้ใช้ไปทุกแห่งทั่วโลกและยังสามารถใช้ระบบ VR ในการทำงานเดี่ยวหรือทำงานร่วมกันในการควบคุมระยะไกล
ข้อจำกัดของความจริงเสมือน  ต้นทุนของเทคโนโลยีสูง
ตัวแทนชาญฉลาด
เป็นตัวแทนซอฟต์แวร์สำหรับผู้ใช้หรือขั้นตอนการทำงานเพื่อเติมส่วนที่ต้องการจะใช้การสร้างและการศึกษาความรู้เกี่ยวกับผู้ใช้งาน บางครั้งจะใช้กราฟิกเป็นตัวแทน
ผู้วิเศษของไมโครซอฟต์
ผู้ช่วยแก้ปัญหาตรงจุดที่มีความสามารถใช้งานที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการทำงานภายในโปรแกรม จะมาพร้อมกับกลไกข้อวินิจฉัยที่สามารถเลือกสาเหตุปัญหาที่น่าจะเป็นไปได้
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
ระบบสารสนเทศฐานองค์ความรู้ได้เพิ่มการรับรู้เข้ากับส่วนประกอบหลักที่พบได้ภายในประเภทระบบสารสนเทศในเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆทั่วไป
องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ
-         ฐานองค์ความรู้ ได้แก่ 1) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหัวเรื่องหลัก 2) ตัวช่วยหาที่ชัดเจนในขั้นตอนการให้เหตุผลของผู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องนั้นๆ
-         ทรัพยากรซอฟต์แวร์  ระบบผู้เชี่ยวชาญจะมีตัววินิจฉัยหรือข้อสรุปและโปรแกรมอื่นสำหรับกรองความรู้และการสื่อสารกับผู้ใช้งาน
การประยุกต์ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ
เกี่ยวข้องกับการโต้ตอบในการทำงานของในคอมพิวเตอร์ เพื่อการแก้ไขปัญหาที่พบ ซึ่งการทำงานนี้จะให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้ ถามคำถาม ทำการค้นหาฐานความรู้สำหรับปัจจัยและบทบาทหรือความรู้อื่นๆ อธิบายเหตุผลและคำแนะนำที่เชี่ยวชาญกับผู้ใช้งาน
การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ
การใช้ระบบนี้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ช่วยเหลือระบบผู้เชี่ยวชาญ โดยที่ไม่ได้ใช้เนื้อหาของฐานองค์ความรู้ แต่จะใช้ระบบนี้ของซอฟต์แวร์กับข้อวินิจฉัยทั่วไปและความสามารถของลักษณะการทำงานของผู้ใช้
วิศวกรรมความรู้
เป็นบุคคลที่ทำงานด้วยความเชี่ยวชาญที่มีความรู้ในขั้นตอนการทำงานเป้นอย่างดี ทำหน้าที่สร้างฐานองค์ความรู้ การใช้งานซ้ำๆ ขั้นตอนการทำงานที่เป็นต้นฉบับจนกระทั่งระบบผู้เชี่ยวชาญนั้นจะยอมรับ
ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ
มีความรวดเร็วและมีการให้ความช่วยเหลือที่ดีกว่า มีความรู้ในความหลากหลายของความชำนาญ ไม่มีความเหนื่อยล้าหรือขาดสมาธิจากการทำงานหนัก ช่วยให้มีการป้องกันจากอันตรายและการเกิดซ้ำ ช่วยป้องกันความรู้ที่มีความเชี่ยวชาญก่อนที่จะออกไปจากองค์กร
ขีดจำกัดของระบบผู้เชี่ยวชาญ
ขาดความสามารถในการเรียนรู้ ปัญหาที่คั่งค้าง และต้นทุนในการพัฒนา สามารถช่วยในการแก้ปัญหาในปัญหาเฉพาะที่อยู่ในขอบเขตความรู้ที่จำกัดขอบเขต มีความยากในการใช้งาน มีต้นทุนในการพัฒนาและการบำรุงรักษาที่สูง
ระบบปัญญาประดิษฐ์ผสมผสาน
ทำให้ธุรกิจมองหาระบบที่เหนือกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและระบบการสนับสนุนการตัดสินใจที่จะช่วยพวกเขาแก้ไขปัญหาจากบุคคลที่มีความชำนาญ ซึ่งคำตอบคือ ระบบผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายเส้นประสาท ซึ่งสามารถร่วมกันทำงานภายในระบบที่มีการเตรียมการทำงานที่ดีที่สุดของสองเทคโนโลยี