วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 4


ภาพรวมของการจัดการ: การจัดการฐานข้อมูล
การจัดการทรัพยากรข้อมูล
             ข้อมูล เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จำเป็นในการจัดการเหมือนกับทรัพย์สินอื่นๆ ของธุรกิจ องค์กรต้องมีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการดำเนินกิจการภายในและที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวคิดข้อมูลพื้นฐาน
-         ตัวอักขระ (Character) ส่วนย่อยของข้อมูลเชิงตรรกะขั้นต้น ตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญญาลักษณ์ 1 ตัว
-         เขตข้อมูล(Field) เป็นลำดับต่อไป กลุ่มของอักษร
-         ระเบียน(Record) เขตข้อมูลที่สัมพันธ์กันถูกจัดเป้นกลุ่มในรูปแบบระเบียน แสดงการรวบรวมคุณสมบัติที่ใช้อธิบายเอนทิตี
-         แฟ้ม(File) กลุ่มของระเบียนที่สัมพันธ์กัน เรียกแฟ้มหรือตาราง
-         ฐานข้อมูล(Database) เป็นการรวบรวมแบบบูรณาการของระเบียนหรือออบเจ็กต์ในเชิงตรรกะที่สัมพันธ์กัน
แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูล
           การพัฒนาฐานข้อมูลและซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล สามารถเข้าถึงได้โดยโปรแกรมประยุกต์ ดังนั้น แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูล เกี่ยวข้องกับ 3 กิจกรรมเบื้องต้นคือ
-         การปรับปรุงและบำรุงรักษาฐานข้อมูล
-         การเตรียมสาระสนเทศที่จำเป็นสำหรับการใช้งาน
-         การเตรียมความสามารถในการโต้ตอบ ค้นหา และจัดทำรายงาน
การใช้ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
1.    การพัฒนาฐานข้อมูล
โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการฐานข้อมูล อนุญาตให้ผู้ใช้พัฒนาฐานข้อมูลตามที่ต้องการได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม การควบคุมการพัฒนาฐานข้อมูลขององค์กรให้อยู่ในมือของผู้บริหารระบบหรือผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูล ปรับเลี่ยนคุณลักษณะเฉพาะของฐานข้อมูลเมื่อจำเป็น สาระสนเทศถูกจัดทำสารบัญแฟ้มและเก็บลงในฐานข้อมูลและคุณลักษณะเฉพาะ เรียก พจนานุกรมข้อมูล
2.    การสืบค้นฐานข้อมูล
ผู้ใช้สามารถใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลสำหรับการขอสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยใช้ภาษาสอบถามหรือตัวสร้างรายงาน ซึ่งทำให้สามารถรับคำตอบทันทีในรูปแบบของการแสดงทางจอภาพหรือรายงาน
3.    การบำรุงรักษาฐานข้อมูล
ฐานข้อมูลขององค์กรต้องการการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลมาจากรายการเปลี่ยนแปลงใหม่หรือเหตุการณ์อื่นๆ
4.    การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
โปรแกรมสำเร็จรูประบบจัดการฐานข้อมูลมีบทบาทหลักในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สามารถใช้ภาษาโปรแกรมยุกต์ที่สี่และสร้างเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์จากโปรแกรมสำเร็จรูประบบจัดการฐานข้อมูล
ประเภทของฐานข้อมูล
-         ฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการ เก็บรายระเอียดของข้อมูลที่ต้องการเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการของทั้งองค์กร เรียก ฐานข้อมูลซับเจ๊กแอเรีย
-         ฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ เก็บข้อมูลและสารสนเทศที่ดึงมาจากฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการและฐานข้อมูลภายนอก ประกอบด้วยข้อมูลสรุปและสารสนเทศที่จำเป็นต่อผู้จัดการองค์กรและผู้ใช้
-         คลังข้อมูล เก็บข้อมูลปัจจุบันและปีก่อนๆ โดยดึงข้อมูลเชิงปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร เป็นแหล่งข้อมูลส่วนกลางที่ได้ถูกคัดเลือก แกไข จัดมาตรฐานและรวบรวมเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ การวิจัยตลาด และสนับสนุนการตัดสินใจ
-         ฐานข้อมูลแบบกระจาย หลายองค์กรทำซ้ำและกระจายสำเนาหรือบางส่วนของฐานข้อมูลไปยังแม่ข่ายเครือข่ายหลายๆ สถานที่ ฐานข้อมูล สามารถติดตั้งอยู่บนเครื่องแม่ข่ายเครือข่าย www
-         ฐานข้อมูลผู้ใช้ ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลต่างๆ ที่พัฒนาโดยผู้ใช้ที่สถานีปลายทาง
-         ฐานข้อมูลภายนอก การเข้าสารสนเทศที่มีค่าของฐานข้อมูลภายนอกจากพาณิชย์บริการต่อรอง โดยจ่ายค่าธรรมเนียมหรือจากแหล่งต่างๆ บทอินทราเน็ต บน www
การพิจารณาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรข้อมูล
1.    การบริหารระบบฐานข้อมูล เป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดการทรัพยากรข้อมูลในการใช้เทคโนโลยีจัดการฐานข้อมูลที่เหมาะสม
2.    การวางแผนข้อมูล เป็นการวางแผนขององค์กรและการวิเคราะห์หน้าที่ที่เน้นในเรื่องการจัดการทรัพยากรข้อมูล
3.    การบริหารข้อมูล เป็นหน้าที่สำคัญของการจัดการทรัพยากรข้อมูลอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดตั้งและบังคับใช้นโยบายและกระบวนคำสั่งสำหรับการจัดการข้อมูล
ประโยชน์และข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูล
            เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ที่สำคัญๆ เช่น การลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล การรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการเข้าถึงจากหลายโปรแกรมและหลายผู้ใช้ โปรแกรมอิสระจากรูปแบบข้อมูลและประเภทของฮาร์ดแวร์สำหรับจัดเก็บ ผู้ใช้ได้รับรายงานและการสอบถาม การโต้ตอบ เพื่อได้สารสนเทศที่ต้องการโดยง่าย
            ข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นเนื่องจากความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ดังนั้น ทำให้เกินปัญหาจัดการทรัพยากรข้อมูล การพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีประเภทข้อมูลที่ซับซ้อนและการติดตั้ง DBMS ที่ยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง
โครงสร้างฐานข้อมูล
1.    โครงสร้างเชิงลำดับขั้น ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม เพราะแต่ละส่วนย่อยข้อมูลมีความสัมพันธ์กับส่วนย่อยเหนือขึ้นไปเท่านั้น ข้อมูลส่วนย่อยหรือระเบียนที่ระดับสูงที่สุดเรียกว่า ราก
2.    โครงสร้างแบบเครือข่าย สามารถแสดงด้วยความสัมพันธ์เชิงตรรกะที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและยังคงใช้โปรแกรมสำเร็จรูป DBMS บนเมนเฟรม ซึ่งอนุญาตความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
3.    โครงสร้างเชิงสัมพันธ์ นิยมมากที่สุดมีการนำมาใช้กับโปรแกรมสำเร็จรูป DBMSไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และระบบเมนเฟรมในแบบจำลองเชิงสัมพันธ์นั้นส่วนย่อยข้อมูลทั้งหมดภายในฐานข้อมูลถูกจัดเก็บ ในรูปแบบตารางที่เรียบง่าย
4.    โครงสร้างเชิงหลายมิติ มีความแตกต่างจากแบบจำลองเชิงสัมพันธ์คือใช้โครงสร้างเชิงหลายมิติเพื่อจัดระเบียบข้อมูลและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
5.    โครงสร้างเชิงวัตถุ แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญของยุคใหม่ของโปรแกรมประยุกต์สื่อประสมเชิงเว็บ
เทคโนโลยีเชิงวัตถุและเว็บ
      การเข้าถึงฐานข้อมูล
-         เขตข้อมูลหลัก การที่ระเบียนข้อมูลบรรจุเขตข้อมูลที่เป็นตัวระบุความแตกต่างหนึ่งหรือมากกว่าเป็นกุญแจเพื่อช่วยระบุตำแหน่งของระเบียน
-         การเข้าถึงโดยลำดับ ใช้การจัดระเบียบแบบตามลำดับ ซึ่งระเบียนแบบตามลำดับ ซึ่งระเยนนั้นจัดเก็บทางกายภาพตามลำดับที่กำหนดของเขตข้อมูลหลักแต่ละระเบียน
-         การเข้าถึงโดยตรง ระเบียนจะไม่ต้องมีการจัดเรียงตามลำดับในสื่อหน่วยเก็บ โดยคอมพิวเตอร์ยังคงจัดเก็บแนวตำแหน่งบนหน่วยจัดเก็บของแต่ละระเบียนโดยวิธีโดยตรง
            การพัฒนาฐานข้อมูล ขนาดเล็กกระทำได้โดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลสำเร็จรูปไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับการพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีประเภทข้อมูลที่ซับซ้อนอาจเป็นงานที่ซับซ้อนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น