วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทำไมเราต้องอยู่ในคลื่นลูกที่ 4

  ตอบ        แม้จะมีความคิดที่ก้าวหน้า มีพลังทรัพย์ พลังการบริหารในระดับหนึ่ง แต่ยังมีพลังไม่มากพอที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม ในเชิงของปริมาณนั้นผมไม่เป็นห่วง เพราะการเปลี่ยนแปลงมักเริ่มจากคนจำนวนน้อยเสมอ ประวัติศาสตร์บอกเช่นนั้น แต่ในเชิงคุณภาพนั้นผมจะช่วยเติมเต็มให้ เพราะแม้พวกนี้จะมีความฉลาดล้ำ มีกลยุทธ์พลิกแพลง แต่เนื่องจากในสังคมไทยมีการแสวงหาทางปัญญากันน้อยเกินไป ดังนั้น พวกนี้จึงขาดยุทธศาสตร์ชี้นำ ยุทธศาสตร์ที่แหลมคม เพราะหากไม่มียุทธศาสตร์ที่ถูกต้องพวกเขาจะทุ่มพลังที่ยังไม่เติบกล้านี้ไปอย่างเหวี่ยงแห ถูกบ้างผิดบ้าง ไม่สามารถรวมศูนย์พลังเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมได้

                เหตุการณ์ Tsunami ถล่มภาคใต้ของเราเมื่อ 4 ปีก่อน เป็นโศกนาฏกรรมที่สังคมไทยต้องจดจำและจารึกถึง แต่สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าคือ Tsunami of Economy ซึ่งจะไม่เพียงกระหน่ำพื้นที่เล็กๆในประเทศเหมือน Tsunami Wave เมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่จะโหมกระหน่ำทุกภาคส่วนในสังคมไทยอย่างไม่ต้องสงสัย และทุกคนต้องได้รับผลกระทบอย่างไม่ต้องสงสัย ดังนั้น การเรียนรู้วิธีรับมือกับ Tsunami of Economy จึงเป็นสิ่งสำคัญ
                เราคงจำกันได้ว่า ฝรั่งและคนไทยบางส่วนที่มีความรู้เกี่ยวกับ Tsunami พอเห็นน้ำลดลงอย่างฉับพลัน จึงเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า Tsunami มาแน่ ขณะที่คนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็คิดว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมดา สุดท้ายคนที่รู้จัก Tsunami จึงเป็นผู้รอดชีวิตอย่างแท้จริง และสิ่งที่น่ากลัวคือ คนกลุ่มนี้อาจพยายามช่วยคนอื่นๆ แต่มีสักกี่คนจะยอมเชื่อเขา คนที่รำคาญเพราะมองเห็นว่าพวกนี้มองโลกในแง่ร้ายขัดขวางความสุขสงบของการพักผ่อนในชายหาดแสนสวยจึงต้องเคราะห์ร้ายอย่างน่าสงสาร แต่ย่อมมีคนบางคนซึ่งน่าจะเป็นคนส่วนน้อยเกิดความตื่นตันใจและนับถือคนที่มาช่วยเตือน จนในที่สุดก็สามารถรอดพ้นจากมหันตภัยครั้งนั้นได้
ส่งโดย  นางสาว  เสาวภา  ประเมินชัย  บ.กจ 3/2
อ้างอิง
http://www.siamintelligence.com/tsunami-of-economics-wave/: เจริญชัย  ไชยไพบูลย์วงศ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น