วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

4. .ให้นักศึกษาอธิบายหัวข้อต่อไปนี้

                    
·         ระบบสารสนเทศด้านการจัดการโซ่อุปทาน
           โซ่อุปทาน หรือ ห่วงโซ่อุปทาน หรือ เครือข่ายลอจิสติกส์ คือ การใช้ระบบของหน่วยงาน คน เทคโนโลยี กิจกรรม ข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากร มาประยุกต์เข้าด้วยกัน เพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ จากผู้จัดหาไปยังลูกค้า กิจกรรมของห่วงโซ่อุปทานจะแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และวัสดุอื่นๆให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จ แล้วส่งไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย (ผู้บริโภค หรือ End Customer) ในเชิงปรัชญาของโซ่อุปทานนั้น วัสดุที่ถูกใช้แล้ว อาจจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ที่จุดไหนของห่วงโซ่อุปทานก็ได้ ถ้าวัสดุนั้นเป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recyclable Materials) โซ่อุปทานมีความเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่า[1]

            โดยทั่วไปแล้ว จุดเริ่มต้นของห่วงโซ่มักจะมาจากทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางชีววิทยาหรือนิเวศวิทยา ผ่านกระบวนการแปรรูปโดยมนุษย์ผ่านกระบวนการสกัด และการผลิตที่เกี่ยวข้อง เช่น การก่อโครงร่าง, การประกอบ หรือการรวมเข้าด้วยกัน ก่อนจะถูกส่งไปยังโกดัง หรือคลังวัสดุ โดยทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย ปริมาณของสินค้าก็จะลดลงทุกๆครั้ง และไกลกว่าจุดกำเนิดของมัน และท้ายที่สุด ก็ถูกส่งไปถึงมือผู้บริโภค

            การแลกเปลี่ยนแต่ละครั้งในห่วงโซ่อุปทาน มักจะเกิดขึ้นระหว่างบรรษัทต่อบรรษัท ที่ต้องการเพิ่มผลประกอบการ ภายใต้สภาวะที่พวกเขาสนใจ แต่ก็อาจจะมีความรู้น้อยนิด/ไม่มีเลย เกี่ยวกับบริษัทอื่นๆในระบบ ปัจจุบันนี้ ได้เกิดบริษัทจำพวกบริษัทลูก ที่แยกออกมาเป็นเอกเทศจากบริษัทแม่ มีจุดประสงค์ในการสรรหาทรัพยากรมาป้อนให้บริษัทแม่

·         ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ CRM (Customer Relationship Management)การบริหารลูกค้าสัมพันธ์
                  การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการจะช่วยให้เกิดการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า ทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งมีเป้าหมายสุดท้ายในการเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป CRM เข้ากับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังลดความสลับซับซ้อนที่อาจจะยังไม่ทราบได้ว่าจะเริ่มแก้จากตรงจุดไหน หน้าที่งานของระบบ CRM มักจะรวมถึง ระบบการบริหารการขาย ระบบการตลาดแบบอัตโนมัติ ระบบรองรับการบริการลูกค้า และระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center)          ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ (Enterprise Resource Planning : ERP) เป็นระบบสารสนเทศที่บูรณาการงานหลักต่างๆ ขององค์การ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล ฯลฯ เข้าด้วยกันโดยเชื่อมโยงกันแบบเรียลไทม์ (Real Time) เพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศโดยภาพรวมและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
          เนื่องจากระบบ CRM เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการดำเนินธุรกิจที่นำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ ดังนั้นการดูแลระบบให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายสารสนเทศ หรือผู้ออกแบบและผู้จัดทำเว็บไซต์ขององค์กร  นอกจากนั้นการเชื่อมระบบ ERP กับ CRM เข้าด้วยกัน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก และอาจจะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการขายและบางทีอาจจะนำเสนอบริการในรูปแบบอื่นให้กับลูกค้าได้

       ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร
   
        วิวัฒนาการของระบบ ERP
                    ประมาณช่วงต้นทศวรรษที่ 1960  วงการอุตสาหกรรมได้นำระบบการวางแผนความต้องการวัสดุ หรือ MRP (Material Requirements Planning) มาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการหารายการและจำนวนวัสดุที่ต้องการตามแผนการผลิตที่วางไว้ และนำมาช่วยด้านบริหารการผลิต  ซึ่งระบบ MRP ได้รับการยอมรับว่าสามารช่วยลดระดับวัสดุคงคลังลงได้ ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออก และช่วยให้การวางแผนและการสั่งซื้อวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1980 ระบบการผลิตมีความซับซ้อนมากขึ้นจึงมีการขยายขอบเขตระบบ MRP จากเดิมโดยรวมเอาการวางแผนและการบริหารทรัพยากรการผลิตอื่นๆ เข้ามาในระบบด้วยและเรียกว่าระบบ MRP II (Manufacturing Resource Planning) อย่างไรก็ตามระบบ MRP II  สนับสนุนการดำเนินงานในส่วนของการผลิต ยังไม่สามารถสนับสนุนการทำงานทั้งหมดในองค์การได้ จึงมีการขยายระบบให้ครอบคลุมงานหลักทุกอย่างในองค์การจึงเป็นที่มาของระบบ ERP
                  กระบวนการทางธุรกิจที่สนับสนุนโดยระบบ ERP
                  กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ทั้งหมดในองค์การไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตสินค้า กระบวนการฝ่ายการเงินและการบัญชี กระบวนการขายและการตลาด กระบวนการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และอื่น เพื่อให้กระบวนการทำงานต่างๆ นั้นเป็นไปอย่างอัตโนมัติ รวดเร็ว ไม่ซ้ำซ้อน และสามารถลดต้นทุนทั้งระบบได้ ข้อมูลจากกระบวนการหรือส่วนต่างๆ ขององค์การจะถูกจัดเก็บไว้ที่เก็บข้อมูลส่วนกลางซึ่งระบบงานอื่นๆ สามารถใช้งานข้อมูลร่วมกันได้ และยังช่วยให้ผู้บริหารได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการบริหารและกำหนดกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และรวดเร็วทันเหตุการณ์

 ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
          ความหมายการจัดการความรู้ (Knowledge Management)              
    การจัดการความรู้เป็นกระบวนการรวบรวม จัดระบบ จัดหมวดหมู่ และเผยแพร่สารสนเทศทั่วทั้งองค์การเพื่อให้ผู้ที่ต้องกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ (Alter,1988 อ้างถึงใน Shukla,www.geoities.com/madhukar_shukla/km.pdf)                การจัดการความรู้เป็นการรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์การและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างการนำไปใช้ และการเผยแพร่ความรู้และบริบทต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ (World Bank อ้างถึงใน สุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ และคณะ,2548)                 การจัดการความรู้เป็นการนำความรู้ให้กับผู้ที่ต้องกาในเวลาเหมาะสม         ระบบการจัดการความรู้            ระบบการจัดการความรู้ หรือ  เคเอ็มเอส ประกอบด้วย กลุ่มของเทคโนโลยี 3 กลุ่ม ทั้งกลุ่มเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร กลุ่มเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกันและกลุ่มเทคโนโลยีด้านหน่วยเก็บและค้นคืนข้อมูลโดยมีรายละเอียดดังนี้                กลุ่มเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร คือ สื่อกลางที่ยินยอมให้ผู้ใช้เข้าถึงความรู้และสื่อสารความรู้นั้นกับบุคคลอื่นโดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผ่านทางอีมล อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต  ตลอดจนเครื่องมือต่างๆของระบบบนเว็บ แม้กระทั่งเครื่องโทรสาร และโทรศัพท์ ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของการ     สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการจัดการความรู้  อาทิเช่น ปัญญาประดิษฐ์ โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ การค้นพบความรู้ในฐานข้อมูล และภาษาเอกซ์เอ็มแอล  ล้วนเป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีชั้นสูงของเคเอ็มเอสและถือเป็นพื้นฐานด้านนวัตกรรมใหม่ของสาขาการจัดการความรู้ในอนาคต ซึ่งมีรายละเอียดของเทคโนโลยีทั้ง 4 ชนิด                  ปัญญาประดิษฐ์  จากนิยามของการจัดการความรู้จะค่อยเกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์เท่าใดนัก แต่ในทางปฏิบัติ เครื่องมือของปัญญาประดิษฐ์มักจะฝังตัวอยู่ในเคเอ็มเอส ไม่ว่าการฝังตัวจะกระทำโดยผู้ขายซอฟแวร์หรือผู้พัฒนาระบบก็ตาม                วิธีปัญญาประดิษฐ์จะชี้ให้เห็นถึงความรู้ความชำนาญภายใต้เครื่องมือที่ใช้ดึงความรู้ออกมาอย่างอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ  โดยอาศัยส่วนต่อประสานซึ่งผ่านการประมวลภาษาธรรมชาติ ตลอดจนการค้นหาความรู้จากฐานความรู้โดยใช้โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะเป็นเครื่องมือ วิธีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักดี คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) โครงข่ายเส้นประสาท (Neural Networks) ตรรกศาสตร์คลุมเครือ (Fuzzy Logic) และโปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ (Intelligent Agents) ระบบเหล่านี้จะถูกรวมตัวกันอยู่ในเคเอ็มเอส เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆทั้งในส่วนของการเพิ่มสมรรถนะของการค้นหาความรู้ การกราดตรวจอีเมล เอกสารและฐานข้อมูล ตลอดจนโครงร่างความรู้ (Knowledge Profiles) ทั้งในส่วนบุคคลและกลุ่มงาน มีการใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่ เพื่อพยากรณ์ถึงผลลัพธ์ในอนาคตมีการกำหนดความสัมพันธ์ของความรู้ด้วยปัญญาประดิษฐ์ มีการชี้ให้เห็นรูปแบบข้อมูลด้วยระบบโครงข่ายเส้นประสาท มีการนำกฎที่ใช้สำหรับระบบผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้ข้อคิดเห็นด้านความรู้ผ่านระบบโครงข่ายเส้นประสาทและระบบผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งมีการใช้เสียงเพื่อสั่งงาน ด้วยการประมวลภาษาธรรมชาติที่ต่อประสานเข้ากับเคเอ็มเอส               
        บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้ในองค์การ            เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้โดยเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการจัดการความรู้ในองค์การให้มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้กับการจัดการความรู้ เช่น-          ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ -          ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร-          ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์-          ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์-          การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย-          การระดมความคิดผ่านระบบเครือข่าย-          ซอฟต์แวร์สนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นทีม-          บล็อก (Blog หรือ Weblog) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือประสบการณ์ ผ่านพื้นที่เสมือน (Cyber Space)ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ            1.  ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารในองค์การควรมีความเข้ใจและตระหนักถึงความสำคัญ รวมทั้วประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการความรู้            2.  มีเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่ชัดเจน ซึ่งเป้าหมายนี้จะต้องสอดคล้อกับกลยุทธ์ขององค์การ            3.  มีวัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อกรแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ภายในองค์การ            4.  มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ เช่น  ค้นหาความรู้ วิเคราะห์ข้อมูล จัดระเบียบและดึงเอาความรู้ไปใช้อย่างเหมาะสม            5.  ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ และบุคลากรต้องตระหนักถึงความสำคัญและเห็นถึงคุณค่าของการจัดการความรู้            6.  มีการวัดผลของการจัดการความรู้ ซึ่งจะช่วยให้องค์การทราบถึงสถานะ และความคืบหน้าของการจัดการความรู้ ทำให้สามารถทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้            7. มีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับหรือเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้            8.  มีการพัฒนาการจัดการความรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ประโยชน์ของการจัดการความรู้การจัดการความรู้ที่ดี ช่วยให้องค์การไดรับประโยชน์ เช่น-          ช่วยเก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์การตลอดไป-          ช่วยลดระยะเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การให้บริการ หรือการเรียนรู้งานใหม่-          ปรับปรุงประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับทุกส่วนขององค์การ-          เสริมสร้างนวัตกรรมใหม่ทั้งทางด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ-          ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรมีคุณภาพเพิ่มขึ้นและสามารถประยุกต์

            ระบบสารสนเทศด้านอัจริยะทางธุรกิจ
        จากความจำเป็นในการแข่งขันด้านธุรกิจ ส่งผลให้ระบบสารสนเทศต้องมีการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองความต้องการในเชิงธุรกิจ ที่จริงแล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ระบบสารสนเทศเป็นอาวุธสำคัญชิ้นหนึ่ง ที่มีผลโดยตรงต่อธุรกิจเลยทีเดียว บริษัทหลายแห่งยอมลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากกับระบบเพื่อมุ่งหวังผลการเจริญเติบโตทางธุรกิจ และในเวลาเดียวกันก็มุ่งหวัง การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ มาชดเชยด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นทั้งระบบจะต้องตอบสนอง และเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้รับมือกับความเปลี่ยนไปได้อย่างทันท่วงที ซึ่งถ้าจะมองไปแล้วระบบเครือข่าย ก็เป็นตัวจักรสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ต้องทำงานประสานกับแอพพลิเคชั่น และผู้ใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ถือเป็นองค์ประกอบที่บริษัทไม่สามารถปล่อย ให้เกิดการหยุดทำงานได้อีกต่อไป ลองสังเกตดูง่ายๆ ในสมัยก่อนถ้าเกิดเหตุการณ์ไฟดับขึ้นมา พนักงานทุกคนก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ เราจึงต้องมีระบบสำรองไฟขึ้นมาใช้ เช่นเดียวกันกับสมัยนี้ ถ้าระบบเครือข่ายเสียขึ้นมาต่อให้เซิร์ฟเวอร์ และแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้ไม่มีปัญหาอะไร พนักงานก็แทบจะทำอะไรไม่ได้เลย
       จากที่กล่าวมานี้เราจึงมีความจำเป็นที่ต้องการระบบเครือข่ายที่สามารถจะปรับเปลี่ยน และยืดหยุ่นมากเพียงพอที่จะรองรับความต้องการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น และนอกจากนี้จะต้องมีระบบปกป้องตัวเองไม่ให้หยุดการทำงานอันเนื่องมาจากอุปกรณ์เสีย วงจรเชื่อมต่อล่ม หรือเลยไปถึงการหยุดให้บริการจากการถูกโจมตีโดยผู้ไม่หวังดีด้วยวิธีการต่าง ๆ จากที่กล่าวมาถึงความสำคัญของระบบเครือข่าย จึงมีแนวความคิดของเครือข่ายแห่งอนาคตที่เรียกว่า ระบบเครือข่ายสารสนเทศอัจฉริยะ” (IIN:Intelligent Information Network) ที่จะรองรับ และตอบสนองการดำเนินของธุรกิจได้อย่างเต็มที่  
     ระบบเครือข่ายอัจฉริยะยังจะต้องมีความสามารถที่จะเรียนรู้ และเข้าใจว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่วิ่งอยู่บนตัวมันคือข้อมูลอะไร มันไม่เพียงแค่รู้ว่ามันเป็นข้อมูลของแอพพลิเคชั่นใดเท่านั้น แต่ยังมองลึกลงไปด้วยว่า เป็นข้อมูลชนิดไหน หรือแอพพลิเคชั่นนั้น ๆ กำลังทำชิ้นงาน หรือทำรายการอะไรอยู่ ถ้าเครือข่ายสามารถเข้าใจการทำงานของแอพพลิเคชั่นได้แล้ว แอพพลิเคชั่นก็จะทำงานได้อย่างเต็มที่ งานบางอย่างที่เดิมเคยถูกประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์จะสามารถถูกย้ายมาทำงานบนเครือข่ายได้ ทำให้เซิรฟเวอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประโยชน์อีกประการหนึ่งก็คือเมื่อเครือข่ายมีความเข้าใจมากขึ้น มันก็สามารถที่จะเลือกให้บริการ และตอบสนองความต้องการของแอพพลิเคชั่นได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเครือข่ายสามารถเข้าใจแอพพลิเคชั่นการสั่งจองสินค้าจากร้านค้าถึงผู้ผลิต เช่นเครือข่ายสามารถแยกแยะรายการคำสั่งซื้อสินค้ามูลค่าสองหมื่นบาท กับรายการคำสั่งซื้อสินค้ามูลค่าสองล้านบาท เครือข่ายก็ควรจะให้ความสำคัญกับรายการหลังมากกว่ารายการแรก และอาจช่วยส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่มีความเร็วสูงได้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การเข้ารหัสเพื่อป้องกัน และปกป้องข้อมูลซึ่งสามารถทำได้ทั้งบนครือข่าย หรือบนเซิร์ฟเวอร์ ถ้าทำบนเซิร์ฟเวอร์ก็คงต้องการเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อรองรับแอพพลิเคชั่นจริง ๆ ก็ได้ แต่ถ้าเราโยกการเข้ารหัสมาทำบนครือข่าย เซิร์ฟเวอร์ก็จะใช้ประสิทธิภาพทั้งหมดมารองรับการทำงานของแอพพลิเคชั่นได้อย่างเต็มที่ ยิ่งในระบบที่มีเซิร์ฟเวอร์มาก ๆ ด้วยแล้ว ยิ่งจะเห็นประโยชน์ชัดเจนมากขึ้น หรืออีกประการหนึ่งคือการป้องกันไวรัส และเวิร์ม ถ้าเราป้องกันโดยใช้ซอร์ฟแวร์ที่วิ่งอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เราก็จะต้องติดตั้งซอร์ฟแวร์ลงบนเครื่องทุกเครื่อง อีกทั้งเรายังปล่อยให้เกิดการระบาดเข้ามาจนถึงตัวเครื่องอีกด้วย ถ้าเป็นการโจมตีบุกรุกก็คงเห็นผลเต็มที่ได้เลยว่า เราสามารถปกป้องเครื่องของเราได้ แต่ครือข่ายอาจจถูกโจมตีไปแล้วจนใช้งานไม่ได้ แต่ถ้าเราติดตั้งระบบป้องกันที่ระดับเครือข่ายเลย มันก็จะปกป้องกันตั้งแต่ทางเข้าเลยทีเดียว จะสังเกตได้ว่าฟังก์ชั่นหลาย ๆ อย่าง ถ้าโยกลงมาทำในระบบเครือข่ายแล้วละก็จะได้ประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ที่เต็มที่กว่าเดิม  



ส่งโดย  นางสาว  เสาวภา  ประเมินชัย  บ.กจ 3/2
อ้างอิง  http://nuanluk-wwwsurinmuti.blogspot.com/2011/08/blog-post_7544.html


 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น